หน้าแรก Arrow Blogs

เอนคอรอยคอย ณ หอเอนเมืองปิซ่า อัศจรรย์มรดกโลกที่คุณต้องไม่พลาด

  • เอนคอรอยคอย ณ หอเอนเมืองปิซ่า อัศจรรย์มรดกโลกที่คุณต้องไม่พลาด
    หอเอนเมืองปิซ่า เอนเอียงไม่เคยล้ม แต่ก็มีทรุดลงไปบ้างตามกาลเวลา ทว่าที่นี่ก็ยังถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต เอกลักษณ์โดดเด่นในความเอียงที่น่าหวาดเสียว ไม่ใช่การก่อสร้างขึ้นแบบตั้งใจ แต่เป็นการสร้างขึ้นแบบผิดพลาด การทรุดตัวเอียงเทเหมือนจะล้มแหล่ไม่ล้มแหล่แบบนี้ กลับกลายเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ใจ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่ประเทศอิตาลี ที่นี่คือหนึ่งในแผนการเดินทางยอดฮิตเลยทีเดียว

Torre Pendente di Pisa คือชื่อของหอเอนปิซ่าที่เรียกกันในภาษาอิตาลี ที่นี่สร้างขึ้นเพื่อเป็นหอระฆังขนาดใหญ่ โดยผู้เป็นเจ้าของคือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อยู่ที่เมืองปิซ่า บริเวณจัตุรัส Piazza del Duomo โครงสร้างใช้วัสดุหินอ่อนสีขาวยิ่งเพิ่มความโดดเด่นให้หอระฆังแห่งนี้ที่เอนเอียงทำมุมเอียงกับพื้นโลกดูน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้น หากวัดระดับความสูงแบบเอียงๆ เช่นนี้ จากยอดสุดถึงพื้นดิน จะมีความสูงประมาณ 4 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นหอระฆังขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

ประวัติศาสตร์เดินทางผ่านกาลเวลา ณ หอเอนปิซ่า

การก่อสร้างที่ดูเหมือนง่ายแบบฉบับที่ใช้โลกปัจจุบันมอง แต่กลับใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานถึง 177 ปี ช่วงเวลานี้ไม่ใช่เพราะความล่าช้า แต่เป็นเหตุแห่งสงคราม ช่วงแรกในการก่อสร้างพื้นดินบริเวณดังกล่าวเกิดการยุบตัวตอนที่กำลังไปได้สวยในชั้นที่ 3 การก่อสร้างหยุดชะงัก แล้วมาต่อยอดจากการก่อสร้างเดิมใหม่โดยมีสถาปนิกจีโอแวนนี่่ ดี สิโมน ทำการจัดการให้หอระฆังเอนตัวไปอีกด้านแทน เพื่อช่วยให้เกิดความสมดุล แล้วการก่อสร้างก็ต้องหยุดลงอีก เหมือนต้องสาป สงครามบานปลายกว่าจะได้เริ่มต้นจนแล้วเสร็จก็ปาเข้าไปเป็นร้อยปี ได้ออกมาเป็นหอระฆังความสูงทั้งหมด 8 ชั้น ราว 55 เมตร ภายในประกอบด้วยบันไดเดินขึ้นลง 293 ขั้น สวยงามด้วยลวดลายของหินอ่อน การเอนเอียงจากพื้นที่ยังคงอยู่ประมาณ 3.97 องศา ซึ่งยังอยู่ในช่วงที่มีความสมดุลระหว่างหอระฆังทั้งสองด้าน ทำให้ที่นี่ยังตั้งตระหง่านอย่างน่าประหลาดใจมาได้จนถึงทุกวัน

แต่อย่าเพิ่งคิดว่าการเอียงต่อจะหยุดฉะงัก เพราะเราพบว่าการเอียงทรุดตัวลงมายังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ต่อเนื่องตามวิถีของโลกและกาลเวลาที่กัดกร่อนนั่นแหละ จนกระทั่งปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี ก็เข้ามาเทคอนกรีตเสริมฐาน หวังว่าหอระฆังจะสามารถกลับมาตั้งฉากได้ดังเดิม ผิดคาดที่มันกลับยิ่งทำให้ตัวหอเอนหนักเข้าไปอีก

การแก้ไขใช้นักเชี่ยวชาญจากหลายด้านมาแก้ไข ทั้งนักประวัติศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ สถาปนิก และเหล่าวิศกรมาช่วยกันระดัมสมอง พยายามให้หอเอนปิซ่ากลับขึ้นมาตั้งตรงได้อีกครั้ง แต่กระนั้นทุกวันนี้ก็เป็นอย่างที่เห็น ทำได้ด้วยการป้องกันไม่ให้หอเอนทะกระจาดลงมา ด้วยการใช้เหล็กหนักกว่า 800 ตันคำยั้นเอาไว้ ถือว่าช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้น

ทั้งนี้ความน่าสนใจในหน้าบันทึกประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งของหอเอนปีซ่า ที่นี่เคยถูกใช้เป็นสถานที่ทดลองแรงโน้มถ่วงของกาลิเลโอ ในช่วงที่เขากำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยปิซ่า และต่อมาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกที่ต้องเก็บรักษา รวมทั้งเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางอีกด้วย


ค้นหา
คำค้น
ช่วงเวลา
รายการทัวร์
ค้นหา


 

Add line Triple Enjoy